ธุระกิจการส่งออกตุ๊กแกมีชีวิต
กำลังเป็นที่เฟื่องฟูที่ อ.นาหว้า จ.นครพนม เนื่องจากสามารถสร้างรายได้อย่างงดงาม
ถึงขนาดจัดหาตุ๊กแกให้ลูกค้าไม่ทันจนต้องเอารถมาจอดรอรับสินค้าถึงแหล่งผลิต
กันเลยทีเดียว
นายพล
น้อยนาง อายุ 40 ปี ชาวบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม
ซึ่งมีอาชีพค้าตุ๊กแกมากว่าสิบปีเปิดเผยว่า แรก ๆ
การทำตุ๊กแกจะทำตามออร์เดอร์ของเฒ่าแก่ที่มารับซื้อ
โดยจะเป็นการชำเหละตุ๊กแกแล้วอบให้แห้งก่อนจะส่งไปขาย
โดยตลาดรับซื้อจะเป็นจีนและไต้หวันแต่ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้ได้มีนายทุนชาว
เวียตนามเข้ามาถึงหมู่บ้านแล้วได้เปลี่ยนแนวการค้าใหม่
โดยเน้นรับซื้อตุ๊กแกตัวเป็น ๆ เท่านั้น
ซึ่งราคาที่รับซื้อก็ใกล้เคียงกันกับการชำแหละแล้วอบแห้ง
ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
จนปัจจุบันการทำตุ๊กแกตากแห้งเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากต้องใช้แรงงานมากกว่า
โดยตุ๊กแกสดที่รับซื้อไปนั้นส่วนใหญ่จะนำไปประกอบอาหาร
ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังเวียตนามและประเทศจีน
การขายตุ๊กแกสด ๆ ทำกันง่าย ๆ
เพียงแค่คัดขนาดตุ๊กแกให้อยู่ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกันแล้วก็นับตัวขายกันเลย
สนนราคาก็ตกตัวละ 30 -40 บาท ล็อตหนึ่งจะส่งประมาณ 3 หมื่นถึง 4 หมื่นตัว อาทิตย์หนึ่งสามารถทำได้เพียง 1
ถึง 3 เที่ยว
เนื่องจากต้องรวบรวมและคัดแยกตุ๊กแกที่ตระเวนรับซื้อตามหมู่บ้านต่าง ๆ
ทั่วภาคอิสาน ทั้งที่หากมีสินค้าสามารถส่งขายได้ทุกวันเลยทีเดียว
เมื่อถามถึงรายได้ นายพล เปิดเผยว่า ปกติจะรับซื้อตุ๊กแกจากชาวบ้านตามขนาด
ตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ ก็ประมาณ 10บาท ขนาดใหญ่ขึ้นมาก็ไม่เกิน 20
บาทส่วนต่างราคาขายก็จะเป็นกำไรพอเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย
ตัวอย่างเช่นหากงวดนี้โชคดีได้ตุ๊กแกขนดใหญ่จานวนมากก็จะได้กำไรหลังจากหัก
ค่าใช้จ่ายแล้วตัวละ 5 - 10 บาท
เดือนหนึ่งส่งออกได้หนึ่งเที่ยวก็อยู่ได้แล้ว ซึ่งปัจจุบัน
พ่อค้าที่รับซื้อบางรายเกรงว่าจะไม่ได้ของถึงขนาดลงทุนว่าจ้างรถบรรทุกจาก
ประเทศลาวมาจอกรอรับของกันเลยก็มี
ทำให้ช่วงนี้การส่งออกตุ๊กแกสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาว บ้านนาหว้าอย่าง งามเลยทีเดียวจับตุ๊กแกขาย
เป็นอาชีพเสริม รายได้ดีชาวบ้านหันมาประกอบอาชีพ
จับตุ๊กแกขาย ช่วงหน้าแล้ง นำไปอบแห้งส่งต่อไปขายยังต่างประเทศ
เพื่อใช้เป็นยาชูกำลัง สร้างรายได้ดี เป็นอาชีพเสริม
เรื่องราวของชาวบ้านที่หันมาประกอบอาชีพจับตุ๊กแกขาย ช่วงหน้าแล้งสร้างรายได้เป็นกอบ เป็นกำ เปิดเผยว่า ที่หมู่บ้านบ้านตาล
หมู่ 15 ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม
ขณะนี้ชาวบ้านออกจับตุ๊กแกและจิ้งจกส่งขายให้กับพ่อค้า
ก่อนนำไปอบแห้งส่งต่อไปขายยังต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นยาชูกำลัง
เนื่องจากช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
เป็นช่วงที่ตุ๊กแกและจิ้งจกผสมพันธุ์ ทำให้สามารถจับตุ๊กแกและจิ้งจกได้เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ นายประสิทธิ์ ลาสุด อายุ 67
ปี ชาวบ้านบ้านตาล ที่ยึดอาชีพรับซื้อตุ๊กแกและจิ้งจกมาอบแห้ง
เปิดเผยว่า ปกติชาวบ้านบ้านตาลจะประกอบอาชีพจับสัตว์ในท้องถิ่นขายตามฤดูกาล
โดยช่วงฤดูฝนจะจับปลิงอบแห้งขาย ฤดูหนาวจับ
ไส้เดือนขาย ส่วนช่วงฤดูร้อนจะมีรายได้
จากการจับตุ๊กแกและจับจิ้งจกขาย
ทำให้ช่วงนี้ชาวบ้านแถบนี้ที่ไม่สามารถทำการเกษตรหันไปทำอาชีพเดินสาย
จับตุ๊กแกขายแทน เพราะสร้างรายได้ดีมาก
นายประสิทธิ์กล่าวว่า
ฤดูร้อนเป็นฤดูกาลผสมพันธุ์ของตุ๊กแก ทำให้ตุ๊กแกที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน หรือตามต้นไม้ออกมาผสมพันธุ์ส่งเสียงร้องหาคู่
ชาวบ้านเลยออกจับขายได้มาก บางกลุ่มถึงกับออกหากันนอกพื้นที่ต่างจังหวัด
โดยวิธีจับจะทำบ่วงผูกกับไม้ยาวไปคล้องตุ๊กแก ส่วนราคาตุ๊กแกจะรับซื้อตัวละ 15-20
บาท แล้วแต่ขนาด
ส่วนจิ้งจกรับซื้อตัวละ 50 สตางค์ จากนั้นนำตุ๊กแกมาชำแหละเอาเครื่องในออก
เสร็จแล้วใช้ไม้หนีบกางขาตุ๊กแกทั้ง 4 ข้างแผ่ออก
นำเข้าห้องอบแห้งด้วยวิธี รมควันใช้เวลาประมาณ 1 คืน
แต่หากเป็นพวกที่มีทุนมากก็จะใช้เครื่องอบ
จากนั้นส่งขายให้กับนายทุนตัวละ 30-80 บาท
โดยนายทุนจะนำบรรจุใส่กล่อง ลงเรือที่กรุงเทพฯ ส่งไปขายที่ ประเทศจีนและ ไต้หวัน
ที่มีความเชื่อว่าตุ๊กแกและจิ้งจก เป็นยาโด๊ปชั้นดี
“ช่วงเดือนที่ผ่านมาชาวบ้านมีรายได้จากการจับตุ๊กแกขายตกครอบครัวละ
30,000-50,000 บาทเลยทีเดียว โดยพื้นที่อำเภอนาหว้าพบว่า
มีการส่งตุ๊กแกอบแห้งไปขายประมาณ 100,000 ตัว
ส่งผลให้เงินสะพัดหมุนเวียนเข้าอำเภอได้เป็นอย่างดี
ชาวบ้านไม่ต้องไปทำงานต่างจังหวัด” พ่อค้าตุ๊กแกอบแห้งกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น